1. กฤษณา
Eagle Wood

Aquilaria crassna Pierre ex H. Lee
THYMELAEACEAE

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 6 ซม.ยาว 12 ซม. ผิวเป็นมัน
ดอกช่อ ออกเป็นช่อเล็ก ๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวแกมเขียว
ผลแห้ง รูปวงรี เปลือกแข็ง มีขนสีเทา เมื่อแก่จะแตก กลีบเลี้ยงเจริญติดอยู่กับผล
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
แก่น - แก่นไม้กฤษณาที่มีสีดำ และมีกลิ่นหอม ใช้ผสมยาหอม แก้อ่อนเพลียบำรุงกำลัง แก้ลมวิงเวียนศีรษะ คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่าง ๆ บำบัดโรคปวดบวมตามข้อ ปัจจุบันนี้ หาเนื้อไม้กฤษณาเพื่อใช้ทำยายากขึ้น และมีราคาแพง


 

2. กาแฟ
Robusta Coffee

Coffea canephora Pierre ex Froehner
RUBIACEAE
ชื่ออื่น กาแฟใบใหญ่

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 2 - 4 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 8 - 12 ซม. ยาว 15 - 20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ติดกันเป็นหลอด มีกลิ่นหอม
ผลเป็นผลสด รูปไข่แกมทรงกลม เมื่อสุกสีแดง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เมล็ด - เมล็ดมีคาเฟอีนเป็นยากระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ พบสาร theophylline มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จากการทดลองพบว่า การดื่มกาแฟทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะมีสาร theobromine อาจทำให้มีอาการปวดแสบที่ลิ้นปี่ นอกจากนี้กาแฟ ยังลดการดูดซึมธาติเหล็กอีกด้วย จึงควรระวังในการดื่มกาแฟ โดยเฉพาะขณะท้องว่าง


 

3. ชมพู่น้ำดอกไม้
Rose Apple

Syzygium jambos (Linn.) Alston
MYRTACEAE
ชื่ออื่น ฝรั่งน้ำ มะซามุด มะน้ำหอม มะห้าคอกลอก

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 12-17 ซม.
ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 3-8 ดอก กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปกรวย เกสรตัวผู้จำนวนมาก
ผลเป็นผลสด กินได้ รูปเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม.
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผล - ใช้ปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมปลายไข้
เปลือก, ต้น และเมล็ด - แก้เบาหวานและแก้ท้องเสีย


 

4. บานทน
Strophanthus gratus (Wall. ex Hook.) Baill.
APOCYNACEAE
ชื่ออื่น แย้มปีนัง หอมปีนัง

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 3 - 5 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 9 - 13 ซม.
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 5 - 20 ดอก กลิ่นหอม กลีบดอกสีม่วงแกมชมพู เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง
ผลเป็นฝัก รูปเรียวยาว เมล็ดสีน้ำตาล มีขนสีขาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เมล็ด - พบสารที่ออกฤทธิ์ กระตุ้นหัวใจในเมล็ดคือ ออเบน(ouabain) บางประเทศในยุโรป สกัดทำเป็นยาฉีดรักษาโรคหัวใจ มีความเป็นพิษสูง ไม่สมควรกินในลักษณะสมุนไพร อาการพิษ คลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นแรงและเร็ว ต้องรีบทำให้อาเจียน และนำส่งโรงพยาบาลทันที


 

5. บุนนาค
Iron Wood

Mesua ferrea Linn.
CLUSIACEAE
ชื่ออื่น สารภีดอย

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง ใบอ่อนสีแดง
ใบเดี่ยว รูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. เนื้อในบาง เหนียว
ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ที่ซอกใบ และปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก กลิ่นหอมเย็น
ผลเป็นผลสด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอกสด - มีน้ำมันหอมระเหย
ดอกแห้ง - จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุและขับลม บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ


 

6. พะยอม
Shorea roxburghii G. Don
DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น กะยอม ขะยอมดง แคน พะยอมดง พะยอมทอง ยางหยวก

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม
ผลแห้ง รูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือกต้น - ต้นน้ำดื่มเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดินและสำไส้อักเสบ สารที่ออกฤทธิ์คือ แทนนิน นอกจากนี้ยังใช้เปลือกต้นเป็นยากันบูดด้วย
ดอก - ใช้เป็นยาลดไข้ เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ


 

7. มะตูม
Bael Fruit Tree, Bengal Quince

Aegle marmelos (Linn.) Corr.
RUTACEAE
ชื่ออื่น กะทันตาเถร ตุ่มตัง ตูม มะปิน

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร
ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปวงรี หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-13 ซม. ขอบใบหยักมน
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ และที่ปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวล ใบและดอกมีกลิ่นหอม
ผล เป็นผลสด เนื้อในสีเหลือง มีน้ำเมือก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ผลดิบแห้ง - ใช้ชงดื่ม ทำให้สดชื่น หายอ่อนเพลีย แก้ท้องเสีย แก้บิด
ผลสุก - เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร


 

8. มะพร้าว
Coconut

Cocos nucifera Linn.
ARECACEAE
ชื่ออื่น หมากอุ๋น หมากอูน

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม สูงได้ถึง 25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป
ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หนาแน่นที่บริเวณยอด ยาว 4-6 เมตร ใบย่อยรูปพัดจีบ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 50-100 ซม.
ดอกช่อ ออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียว หรือเขียวแกมเหลือง ใบประดับยาว 60-90 ซม.
ผล เป็นผลสด รูปใข่แกมทรงกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง เนื้อสีขาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
น้ำมะพร้าว - มีเกลือโปแตสเซียม และน้ำตาลกลูโคสสูง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูง มีเกลือคลอไรด์ และโซเดียมต่ำกว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ สูตรองค์การอนามัยโลก ที่ใช้กับโรคท้องเสีย ทำให้ชุ่มคอ บำรุงธาตุไฟ ช่วยกระตุ้นการหายใจ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเล็กน้อย


 

9. มะลิลา
Arabian Jasmine

Jasminum sambac Ait.
OLEACEAE
ชื่ออื่น ข้าวแตก มะลิ มะลิขี้ไก่ มะลิป้อม มะลิหลวง

รูปลักษณะ
ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร
ใบประกอบ ชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียวแกมเหลือง
ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม มะลิลามีกลีบดอกชั้นเดียว ส่วนมะลิซ้อนมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น
ผลเป็นผลสด
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอกแห้ง - จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ปรุงยาหอม ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ไข้


 

10. รสสุคนธ์
Tetracera loureiri (Finet et Gagnep.) Pierre ex Craib
DILLENIACEAE
ชื่ออื่น เถากกะปดใบเลื่อม บอระคน อรคนธ์ ปดคาย ปดเลื่อน ปดน้ำมัน มะตาดเครือ รสสุคนธ์ขาว สุคนธรส เสาวรส ย่านปด

รูปลักษณะ
ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี กว้าง 4 - 7 ซม. ยาว 7 - 16 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย แผ่นใบสากมือ สีเขียวเข้ม
ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ และปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก มีใบประดับ กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
ผลเป็นฝัก รูปเกือบกลม แตกตะเข็บเดียว เมล็ดรูปไข 1 - 2 เมล็ด มีเยื่อหุ่มสีแดง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอก - ใช้ดอกเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ แก้เป็นลม อ่อนเพลีย


 

11. สนุ่น
Willow

Salix tetrasperma Roxb.
SALICACEAE
ชื่ออื่น คล้าย ไคร้นุ่น ไคร้บก ตะไคร้บก ไคร้ใหญ่ ตะหนุ่น สนุนน้ำ

รูปลักษณะ
ไม้ยีนต้น สูง 5 - 10 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกว้าง 2 - 3 ซม. ยาว 5 - 10 ซม. ท้องใบสีขาว ขอบใบหยักซี่ฟัน ก้านใบสีแดง
ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก
ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือก - เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ไข้ ต้มน้ำอาบแก้ไข้ แก้หวัด คัดจมูก ในเปลือกต้นพบสาร salicin มีฤทธิ์ลดไข้ แก้ปวดเช่นเดียวกับแอสไพริน (aspirin)
ใบ - น้ำคั้นใบสด แก้พิษงูสวัด


 

12. สารภี
Mammea siamensis Kosterm.
CLUSIACEAE
ชื่ออื่น ทรพี สร้อยพี สารภีแนน

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ กลับแกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. เนื้อใบค่อนข้างเหนียวและหนา
ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก
ผลเป็นผลสด รูปกระสวย
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอกแห้ง - ตำรายาไทยใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ชูกำลัง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า